การทดสอบและการประเมินทางจิตวิทยา
- ชนิตา พิมพ์ศรี |
ประมวลการสอนรายวิชา (Course Syllabus)
|
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
||
ประมวลการสอนรายวิชา (Course Syllabus) |
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 |
||
วิชา ED 377037 การทดสอบและการประเมินทางจิตวิทยา Psychological Testing and Assessment |
จำนวนหน่วยกิต 3 (3-0-6) |
||
สาขาวิชา |
จิตวิทยาและการพัฒนามนุษย์ |
ประเภทวิชา |
กลุ่มวิชาแกนบังคับ |
กลุ่มเรียน และ วันเวลาเรียน |
กลุ่ม 11 วันอาทิตย์ เวลา 13:00-16:00 น. ED1560 และ Online Class |
ผู้สอน อาจารย์ ดร.ชนิตา พิมพ์ศรี |
|
1. คำอธิบายรายวิชา
แนวคิดเกี่ยวกับการทดสอบและการประเมินทางจิตวิทยา กระบวนการออกแบบและ สร้างแบบทดสอบ การวิเคราะห์คุณภาพแบบทดสอบ ปกติวิสัย การจัดการการทดสอบ แบบทดสอบทางจิตวิทยาประเภทต่าง ๆ และการประยุกต์ใช้
Concept of Psychological Testing and Assessment, process of test designing and construction, test analysis, norm, test management, and types of tests and application
2. จุดประสงค์รายวิชา
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นมาของการทดสอบและการประเมินทางจิตวิทยา และแนวคิดเกี่ยวกับการทดสอบและการประเมินทางจิตวิทยา
2. สามารถอธิบายกระบวนการออกแบบและสร้างแบบทดสอบ การวิเคราะห์คุณภาพแบบทดสอบ การสร้างปกติวิสัย และการจัดการการทดสอบ
3. สามารถออกแบบ สร้างแบบทดสอบทางจิตวิทยา และประยุกต์ใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยาได้
4. มีเจตคติที่ดีและตระหนักถึงความสำคัญของการทดสอบและการประเมินทางจิตวิทยาในการพัฒนามนุษย์
3. วิธีการจัดการเรียนการสอน
1. การบรรยายเชิงมโนทัศน์ (ทฤษฎี)
2. การอภิปราย
3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
4. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
5. การเรียนรู้จากกรณีศึกษา
6. การเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัล
7. การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์/ปรากฏการณ์เป็นพื้นฐาน
8. การสวมบทบาทสมมติ (Role Play)
9. การใช้ใบงาน/ใบกิจกรรม
10. การใช้วีดีทัศน์
4. สื่อการเรียนการสอนและเครื่องมือสนับสนุนการเรียนรู้
1. เอกสารประกอบการสอน
2. Slide ประกอบการบรรยาย ผ่านโปรแกรม Power Point/Canva
3. ใบกิจกรรม
4. วิดิทัศน์ประกอบการสอน
5. กรณีศึกษา
6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักการและแนวความคิดทางจิตวิทยา
7. แบบทดสอบทางจิตวิทยาประเภทต่าง ๆ
8. Zoom meeting
9. Google Classroom
10. อื่น ๆ
5. การประเมินผล
ผู้เรียนจะมีสิทธิ์เข้าสอบต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด (ระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2542 หมวดที่ 8 การวัดและประเมินผล ข้อ 27.6.2) คะแนนสัมฤทธิ์ผลของรายวิชานี้ ได้แก่
ลำดับ |
เกณฑ์การประเมิน |
ร้อยละ |
1 |
1. การทดสอบความรู้ 1) สอบกลางภาค (15 คะแนน) 2) สอบปลายภาค (15 คะแนน) |
30 |
2 |
2. กิจกรรม/แบบฝึกหัด |
40 |
3 |
3. นำเสนอการพัฒนาแบบวัดทางจิตวิทยา |
20 |
4 |
4. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ 1) การตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน 2) ความรับผิดชอบในการทำงานและการส่งงาน 3) ความซื่อสัตย์ในการเรียนและการทำงาน 4) มีเจตคติที่ดีและตระหนักถึงความสำคัญของ การทดสอบและการประเมินทางจิตวิทยาใน การพัฒนามนุษย์ |
10 |
|
รวม |
100 |
6. เกณฑ์การประเมิน
เกณฑ์การผ่านการประเมิน ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 55
ช่วงคะแนน |
เกรด |
85-100 |
A |
80-84 |
B+ |
75-79 |
B |
70-74 |
C+ |
65-69 |
C |
61-64 |
D+ |
56-60 |
D |
ต่ำกว่า 55 |
F |
7. แหล่งการเรียนรู้
1. http://thaiedresearch.org/
2. Online Learning Resources
3. สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
4. ห้องสมุดคณะศึกษาศาสตร์
5. เอกสารประกอบการเรียน
ชนิตา พิมพ์ศรี. (2566). เอกสารประกอบการสอน รายวิชา ED 377 037
การทดสอบและการประเมินทางจิตวิทยา (Psychological Testing
and Assessment). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
6. หนังสือ
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2555). ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 7.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cohen, R. J., & Swerdlik, M. E. (2018). Psychological Testing and
Assessment: An Introduction to Tests and Assessments. 9th ed. New York: McGraw-Hill Higher Education.
Gregory, R. J. (2014). Psychological testing: History, principles, and
applications. 7th ed. Harlow: Pearson Education Limited.
Price, L. R. (2017). Psychometric methods: Theory into practice.
Guilford Press.
8. แผนการเรียนการสอน
ครั้งที่ |
เนื้อหา |
กิจกรรมการเรียนการสอน |
สื่อการเรียน การสอน |
ผู้สอน |
1 |
- แนะนำรายวิชา วิธีการศึกษา วิธีการวัดและประเมินผล 1. ความเป็นมาของ การทดสอบและการประเมินทางจิตวิทยา 1.1 ความเป็นมาของ การทดสอบทางจิตวิทยา 1.2 นิยามของการวัด การทดสอบ และ การประเมิน 1.3 ประเภทของ การทดสอบทางจิตวิทยา 1.4 แนวทางใน การประเมินทางจิตวิทยา 1.5 ตัวแปร และระดับของการวัด 1.6 ข้อควรคำนึงใน การทดสอบและ การประเมินทางจิตวิทยา 1.7 หลักจรรยาบรรณในการทดสอบทางจิตวิทยา |
1. อาจารย์ปฐมนิเทศ แจ้ง Course Syllabus จุดประสงค์ เนื้อหา กระบวนการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล 2. อาจารย์บรรยายเนื้อหา เรื่อง ความเป็นมาของการทดสอบและการประเมินทางจิตวิทยาโดยมีการถามตอบและอภิปรายร่วมกันในประเด็นหัวข้อต่าง ๆ เป็นระยะ 3. อาจารย์สาธิตแนวทางในการประเมินทางจิตวิทยาเบื้องต้น เช่น การสัมภาษณ์ การสังเกต 4.นักศึกษาฝึกปฏิบัติด้วยการสวมบทบาทสมมติ (Role Play) เป็นผู้ทำการประเมินและผู้รับการประเมินทางจิตวิทยาเบื้องต้น โดยมีอาจารย์คอยให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา 5. นักศึกษาทำกิจกรรมตามใบกิจกรรม การประเมินทางจิตวิทยาเบื้องต้น 6. อาจารย์สรุปเนื้อหา เรื่อง ความเป็นมาของการทดสอบและการประเมินทางจิตวิทยา 7.อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันอภิปรายความสำคัญของการทดสอบทางจิตวิทยา และผลกระทบจากการใช้แบบทดสอบอย่างไม่เหมาะสม |
1. มคอ. 3 2. Course Syllabus 3. เอกสารประกอบการสอน รายวิชา ED 377037 การทดสอบและ การประเมินทางจิตวิทยา 4. Slide ประกอบ การบรรยาย เรื่อง ความเป็นมาของ การทดสอบและ การประเมินทางจิตวิทยา 5. คลิปวิดิทัศน์ประกอบการสอน เรื่อง แบบทดสอบจิตวิทยา ตอน คำถามยอดฮิต แบบทดสอบจิตวิทยา 6. ใบกิจกรรมที่ 1.2 การประเมินทางจิตวิทยาเบื้องต้น เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ 7. Google Classroom |
อ.ดร.ชนิตา พิมพ์ศรี |
2-3 |
2. กระบวนการออกแบบและ การสร้างแบบทดสอบ 2.1 คุณลักษณะของผู้สร้างแบบทดสอบ 2.2 การออกแบบและ การสร้างแบบทดสอบ
|
ครั้งที่ 1 1. อาจารย์แจ้งหัวข้อการเรียนรู้ กระบวนการออกแบบและการสร้างแบบทดสอบ จุดประสงค์การเรียน และรู้สาระการเรียนรู้ 2. อาจารย์บรรยายเนื้อหา เรื่อง กระบวนการออกแบบและการสร้างแบบทดสอบ โดยมี การถามตอบและอภิปรายในหัวข้อต่าง ๆ |
1. เอกสารประกอบการสอน รายวิชา ED 377037 การทดสอบและ การประเมินทางจิตวิทยา
|
อ.ดร.ชนิตา พิมพ์ศรี |
ครั้งที่ |
เนื้อหา |
กิจกรรมการเรียนการสอน |
สื่อการเรียน การสอน |
ผู้สอน |
2-3 (ต่อ) |
2.3 ข้อแนะนำใน การสร้างแบบทดสอบ 2.4 การสร้างเครื่องมือประเมินทางจิตวิทยา อื่น ๆ
|
3. อาจารย์สาธิตวิธีการเขียนพิมพ์เขียวแบบทดสอบ (Test Blueprint) พร้อม ยกตัวอย่างอธิบายพิมพ์เขียวแบบทดสอบ4. นักศึกษาแต่ละคนทำกิจกรรมการออกแบบพิมพ์เขียวตามใบกิจกรรม พร้อมนำเสนอ 5. อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันอภิปรายผล การสร้างพิมพ์เขียวแบบทดสอบ 6. อาจารย์สรุปเนื้อหา เรื่อง กระบวนการออกแบบและการสร้างแบบทดสอบ และ การทำกิจกรรมการออกแบบพิมพ์เขียวตาม ใบกิจกรรม 7. อาจารย์มอบหมายงานให้ไปค้นคว้าบทความวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบทดสอบทางจิตวิทยาเพื่อนำเสนอใน ครั้งถัดไป
ครั้งที่ 2 1. อาจารย์ทบทวนเนื้อหา คุณลักษณะของผู้สร้างแบบทดสอบ และแนวทางการออกแบบ และการสร้างแบบทดสอบ 2. อาจารย์อาจารย์แจ้งจุดประสงค์การเรียน และสาระการเรียนรู้ 3. นักศึกษานำเสนองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ การสร้างแบบทดสอบทางจิตวิทยา 4. อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันอภิปรายจุดเด่นและข้อจำกัดของแบบทดสอบที่นำมานำเสนอ 5. อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันสรุป แนวทางการสร้างแบบทดสอบให้มีคุณภาพ 6. อาจารย์สรุปเนื้อหา เรื่อง กระบวนการออกแบบและการสร้างแบบทดสอบ และแนวทางการสร้างแบบทดสอบให้มีคุณภาพ ที่ได้เรียนรู้ผ่านการศึกษาบทความวิจัย
|
2. Slide ประกอบ การบรรยาย เรื่อง กระบวนการออกแบบและการสร้าง แบบทดสอบ 3. คลิปวิดิทัศน์ประกอบการสอน เรื่อง ตัวอย่างภาพยนตร์ ฉลาดเกมส์โกง (Official Trailer) 4. ใบกิจกรรม 2.2 การเขียนพิมพ์เขียวแบบทดสอบ สำหรับสร้างมาตรวัด ความฉลาดทางอารมณ์ตามนิยามที่กำหนด 5. ใบกิจกรรม 2.3 การค้นคว้าบทความวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ การสร้างแบบวัดหรือแบบทดสอบทางจิตวิทยา 6. บทความวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ การสร้างแบบวัดหรือแบบทดสอบทางจิตวิทยา 7. Google Classroom 8. ZOOM Meeting |
|
ครั้งที่ |
เนื้อหา |
กิจกรรมการเรียนการสอน |
สื่อการเรียน การสอน |
ผู้สอน |
|
|
7. อาจารย์มอบหมายงานในลักษณะโครงการ โดยให้นักศึกษาเลือกตัวแปรทางจิตวิทยาที่สนใจเพื่อนำมาพัฒนาเป็นแบบวัดทางจิตวิทยา โดยจะมีการนำเสนอในการเรียนครั้งสุดท้ายก่อนสอบปลายภาค
|
|
|
4-5 |
3. การวิเคราะห์คุณภาพแบบทดสอบ 3.1 ความตรง (Validity) 3.2 ความเที่ยง (Reliability) 3.3 อำนาจจำแนก (Discrimination) 3.4 ความยากง่ายของข้อสอบ (Difficulty)
|
ครั้งที่ 1 1. อาจารย์แจ้งหัวข้อการเรียนรู้ การวิเคราะห์คุณภาพแบบทดสอบ ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาการวิเคราะห์ความตรง ความเที่ยง อำนาจจำแนก รวมไปถึงความยากง่ายของข้อสอบ 2. อาจารย์แจ้งจุดประสงค์การเรียน และสาระการเรียนรู้ 3. อาจารย์บรรยายเนื้อหา เรื่อง การวิเคราะห์คุณภาพแบบทดสอบ หัวข้อความตรง 4. อาจารย์สาธิตการวิเคราะห์ค่าความตรง ด้วยการคำนวณอัตราส่วนความตรงเชิงเนื้อหา 5.นักศึกษาทำกิจกรรมการวิเคราะห์ค่าความตรงด้วยการคำนวณอัตราส่วนความตรงเชิงเนื้อหา พร้อมนำเสนอ และร่วมกันอภิปรายผลการวิเคราะห์ที่ได้นำเสนอ 6. อาจารย์สรุปเนื้อหา เรื่อง การวิเคราะห์คุณภาพแบบทดสอบ หัวข้อ ความตรง รวมถึงการวิเคราะห์ค่าความตรงที่นักศึกษาได้ทำกิจกรรมไป
ครั้งที่ 2 1. นักศึกษานำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าตามใบกิจกรรม เรื่อง การศึกษาค้นคว้า พร้อมอภิปรายจุดเด่นและข้อจำกัดของการวิเคราะห์ความตรงของแบบทดสอบ จากนั้นอาจารย์และนักศึกษาร่วมกันอภิปรายแนวทางการนำ CVI CVR และ IOC ไปใช้ 2. อาจารย์สรุปองค์ความรู้เรื่องความตรง และเชื่อมโยงถึงการวิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบด้วยวิธีการอื่น ๆ คือ ความเที่ยง |
1. เอกสารประกอบ การสอน รายวิชา ED 377037 การทดสอบและการประเมินทางจิตวิทยา 2. Slide ประกอบ การบรรยาย เรื่อง การวิเคราะห์คุณภาพแบบทดสอบ 3. วิดิทัศน์ประกอบ การสอน เรื่อง Understanding Measurement Validity 4. วิดิทัศน์ประกอบ การสอน เรื่อง Video: Reliability Coefficient | Definition, Formula & Types 5. ใบกิจกรรม 3.1 เรื่อง การศึกษาค้นคว้า พร้อมอภิปรายจุดเด่นและข้อจำกัดของ การวิเคราะห์ ความตรงของแบบทดสอบ 6. ใบกิจกรรม 3.2 เรื่อง การศึกษา |
อ.ดร.ชนิตา พิมพ์ศรี |
ครั้งที่ |
เนื้อหา |
กิจกรรมการเรียนการสอน |
สื่อการเรียน การสอน |
ผู้สอน |
4-5 (ต่อ) |
|
อำนาจจำแนก และความยากง่ายของแบบทดสอบ 3. อาจารย์แจ้งจุดประสงค์การเรียน และสาระการเรียนรู้ 4. อาจารย์บรรยายเนื้อหา เรื่อง การวิเคราะห์คุณภาพแบบทดสอบ หัวข้อ ความเที่ยง อำนาจจำแนก และความยากง่ายของข้อสอบโดยมีการถามตอบและอภิปรายร่วมกัน 5. อาจารย์สาธิตการวิเคราะห์ค่าความเที่ยง และอำนาจจำแนก 6. นักศึกษาแต่ละคนทำกิจกรรมการวิเคราะห์ความเที่ยง และอำนาจจำแนก พร้อมนำเสนอผลการวิเคราะห์ค่าความเที่ยง และอำนาจจำแนก จากนั้นร่วมกันอภิปรายผล การวิเคราะห์ที่ได้นำเสนอ 7. อาจารย์สรุปเนื้อหา เรื่อง การวิเคราะห์คุณภาพแบบทดสอบ หัวข้อ ความเที่ยง อำนาจจำแนก และความยากง่ายของข้อสอบ รวมถึงการวิเคราะห์ค่าความเที่ยงและอำนาจจำแนกที่นักศึกษาได้ทำกิจกรรมไป |
ค้นคว้าวิธีการวิเคราะห์คุณภาพแบบทดสอบทางจิตวิทยา ได้แก่ ค่าความไว (sensitivity) และค่าความจำเพาะ (specificity) 7. ชุดข้อมูลสำหรับการคำนวณอัตราส่วนความตรงเชิงเนื้อหา 8. ชุดข้อมูลสำหรับ การคำนวณความเที่ยง และอำนาจจำแนก 9. Google Classroom |
|
6 |
4. ปกติวิสัย 4.1 ความหมายของปกติวิสัย 4.2 คุณลักษณะของปกติวิสัยที่ดี 4.3 ประเภทของ ปกติวิสัย |
1. อาจารย์แจ้งหัวข้อการเรียนรู้ หัวข้อ ปกติวิสัย แจ้งจุดประสงค์การเรียน และสาระการเรียนรู้ 2. อาจารย์บรรยายเนื้อหา ปกติวิสัย ซึ่งประกอบด้วยความหมายของปกติวิสัยคุณลักษณะ ของปกติวิสัยที่ดี และประเภทของปกติวิสัย โดยมีการถามตอบและอภิปรายร่วมกันในประเด็นหัวข้อต่าง ๆ เป็นระยะ 3. อาจารย์เสนอตัวอย่างปกติวิสัยประเภท ต่าง ๆ และอธิบายแนวทางการพิจารณาและเลือกใช้ปกติวิสัยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ 4. อาจารย์ยกตัวอย่างกรณีศึกษาและสาธิต การเลือกใช้ปกติวิสัยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
|
1. เอกสารประกอบ การสอน รายวิชา ED 377037 การทดสอบและการประเมินทางจิตวิทยา 2. Slide ประกอบ การบรรยาย เรื่อง ปกติวิสัย 3. ใบกิจกรรม ที่ 4.1 เรื่อง การเลือกใช้ ปกติวิสัยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ 4. Google Classroom 5. Zoom Meeting |
อ.ดร.ชนิตา พิมพ์ศรี |
ครั้งที่ |
เนื้อหา |
กิจกรรมการเรียนการสอน |
สื่อการเรียน การสอน |
ผู้สอน |
|
|
5. นักศึกษาแต่ละคนฝึกเลือกใช้ปกติวิสัยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ โดยมีอาจารย์คอยให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา 6. นักศึกษาแต่ละคนทำฝึกปฏิบัติเลือกใช้ ปกติวิสัยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ตาม ใบกิจกรรม ที่ 4.1 เรื่อง การเลือกใช้ปกติวิสัยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ พร้อมนำเสนอ จากนั้นร่วมกันอภิปรายผลการทำกิจกรรม 7. อาจารย์สรุปเนื้อหา เรื่อง ความหมายของปกติวิสัยคุณลักษณะของปกติวิสัยที่ดี ประเภทของปกติวิสัยและการเลือกใช้ปกติวิสัยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ |
|
|
7 |
5. การบริหารจัดการการทดสอบ 5.1 ความหมายของ การบริหารจัดการ การทดสอบ 5.2 การจัดการทดสอบให้เป็นมาตรฐาน 5.3 การเขียนคำชี้แจงในการทดสอบ 5.4 การจัดสภาพ แวดล้อมในการทดสอบ 5.5 ความปลอดภัยในการจัดการทดสอบ
|
1. อาจารย์แจ้งหัวข้อการเรียนรู้ หัวข้อ การบริหารจัดการการทดสอบ แจ้งจุดประสงค์ การเรียน และสาระการเรียนรู้ 2. อาจารย์บรรยายเนื้อหา การบริหารจัดการการทดสอบ โดยมีการถามตอบและอภิปรายร่วมกันในประเด็นหัวข้อต่าง ๆ เป็นระยะ 3. อาจารย์เสนอตัวอย่างการเขียนคำชี้แจงในการทดสอบในรูปแบบที่แตกต่างกัน และอธิบายแนวทางการเขียนคำชี้แจงในการทดสอบ รวมถึงยกตัวอย่างกรณีศึกษาและสาธิตการเขียนคำชี้แจงในการทดสอบให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ 4. นักศึกษาแต่ละคนฝึกเขียนคำชี้แจงใน การทดสอบให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ โดยมีอาจารย์คอย ให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา 5. นักศึกษาแต่ละคนทำฝึกเขียนคำชี้แจงใน การทดสอบให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ตามใบกิจกรรม ที่ 5.1 เรื่อง การเขียนคำชี้แจงในการทดสอบให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ พร้อมนำเสนอ 6. อาจารย์สรุปเนื้อหา เรื่อง การบริหารจัดการ การทดสอบ รวมถึงแนวทางการเขียนคำชี้แจงในการทดสอบให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ |
1. เอกสารประกอบ การสอน รายวิชา ED 377037 การทดสอบและการประเมินทางจิตวิทยา 2. Slide ประกอบ การบรรยาย เรื่อง การบริหารจัดการ การทดสอบ 3. ใบกิจกรรมที่ 5.1 เรื่อง การเขียนคำชี้แจงในการทดสอบให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ 4. Google Classroom 5. Zoom Meeting
|
อ.ดร.ชนิตา พิมพ์ศรี |
8 |
สอบกลางภาค |
|||
ครั้งที่ |
เนื้อหา |
กิจกรรมการเรียนการสอน |
สื่อการเรียน การสอน |
ผู้สอน |
9-10 |
6. แบบทดสอบ เชาวน์ปัญญา 6.1 ประวัติความเป็นมาในการวัด ความสามารถทางเชาวน์ปัญญา 6.2 ทฤษฎีเชาวน์ปัญญา 6.3 แบบทดสอบ Stanford - Binet Intelligence Scale 6.4 แบบทดสอบ Wechsler Intelligence Scale for Children 6.5 แบบทดสอบ Wechsler Adult Intelligence Scale 6.6 แบบทดสอบ Raven Progressive Matrices
|
ครั้งที่ 1 1. อาจารย์แจ้งหัวข้อการเรียนรู้ หัวข้อ แบบทดสอบเชาวน์ปัญญา 2.อาจารย์แจ้งจุดประสงค์การเรียน และสาระการเรียนรู้ 3. อาจารย์บรรยายเนื้อหา ประวัติ ความเป็นมาในการวัด ความสามารถทาง เชาวน์ปัญญา ทฤษฎีเชาวน์ปัญญา รวมไปถึงแบบทดสอบเชาวน์ปัญญาที่นิยมใช้ในปัจจุบัน โดยมีการถามตอบและอภิปรายร่วมกันในประเด็นหัวข้อต่าง ๆ เป็นระยะ 4.อาจารย์อธิบายแนวทางการเลือกใช้แบบทดสอบเชาวน์ปัญญากับกลุ่มผู้รับ การทดสอบประเภทต่าง ๆ 5. อาจารย์ยกตัวอย่างกรณีศึกษาและสาธิต การเลือกแบบทดสอบเชาวน์ปัญญาให้เหมาะกับกรณีศึกษา 6.นักศึกษาฝึกเลือกแบบทดสอบเชาวน์ปัญญาให้เหมาะกับกรณีศึกษา พร้อมนำเสนอ โดยทั้งอาจารย์และนักศึกษาร่วมกันอภิปรายผลการทำกิจกรรม 7. อาจารย์สรุปเนื้อหา เรื่อง ประวัติ ความเป็นมาในการวัด ความสามารถทาง เชาวน์ปัญญา ทฤษฎีเชาวน์ปัญญา รวมไปถึงแบบทดสอบเชาวน์ปัญญาที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
ครั้งที่ 2 1. อาจารย์ทบทวนเนื้อหา ประวัติ ความเป็นมาในการวัดความสามารถทาง เชาวน์ปัญญา ทฤษฎีเชาวน์ปัญญา รวมไปถึงแบบทดสอบเชาวน์ปัญญาที่นิยมใช้ในปัจจุบัน 2. อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอแบบทดสอบเชาวน์ปัญญาอื่น ๆ ตามใบกิจกรรม จากนั้นร่วมกันอภิปรายแนวทางการใช้แบบทดสอบตามที่นักศึกษาค้นคว้ามานำเสนอ |
1. เอกสารประกอบ การสอน รายวิชา ED 377037 การทดสอบและการประเมินทางจิตวิทยา 2. Slide ประกอบ การบรรยาย เรื่อง แบบทดสอบ เชาวน์ปัญญา 3. วิดิทัศน์ประกอบ การสอน เรื่อง The dark history of IQ tests - Stefan C. Dombrowski 4. ใบกิจกรรม ที่ 6.1 เรื่อง การเลือกใช้ แบบทดสอบ เชาวน์ปัญญาให้ให้สอดคล้องกับบริบทและความแตกต่างระหว่างบุคคล 5. ใบกิจกรรม ที่ 6.2 เรื่อง การค้นคว้า แบบทดสอบ เชาวน์ปัญญาชนิด อื่น ๆ 6. ตัวอย่างแบบทดสอบที่มีลักษณะคล้ายแบบทดสอบ เชาวน์ปัญญา Standard Progressive Matrices (SPM)
|
อ.ดร.ชนิตา พิมพ์ศรี |
ครั้งที่ |
เนื้อหา |
กิจกรรมการเรียนการสอน |
สื่อการเรียน การสอน |
ผู้สอน |
|
|
9-10 (ต่อ) |
|
3. นักศึกษาสลับกันทดลองเป็นผู้ทำ การทดสอบและผู้รับการทดสอบด้วยตัวอย่างแบบทดสอบที่มีลักษณะคล้ายแบบทดสอบ เชาวน์ปัญญา Standard Progressive Matrices (SPM) จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาสะท้อนความรู้สึก 4. นักศึกษาร่วมกันสรุปความคิดรวบยอด เกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำแบบทดสอบทั้งในด้านกระบวนการจัดการทดสอบ และความรู้สึกขณะทำแบบทดสอบ 5.นักศึกษาร่วมกันอภิปรายแนวทาง การเตรียม ความพร้อมในการเป็นผู้ทำการทดสอบเพื่อให้การทดสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 6. อาจารย์สรุปเนื้อหา แบบทดสอบ เชาวน์ปัญญาชนิดอื่น ๆ ประสบการณ์ในการเป็นผู้ทำการทดสอบและผู้รับการทดสอบ รวมถึงแนวทางในการเตรียมความพร้อมใน การเป็นผู้ทำการทดสอบเพื่อให้การทดสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
|
7. Google Classroom |
|
|
|
11-12 |
7. แบบทดสอบบุคลิกภาพ 7.1 ความหมายของบุคลิกภาพ 7.2 ปัจจัยที่มีผลต่อบุคลิกภาพ 7.3 ประโยชน์ของ การประเมินบุคลิกภาพ 7.4 ข้อควรระวัง ในการทดสอบบุคลิกภาพ |
ครั้งที่ 1 1. อาจารย์แจ้งหัวข้อการเรียนรู้ แบบทดสอบบุคลิกภาพ และอาจารย์แจ้งจุดประสงค์ การเรียน และสาระการเรียนรู้ 2. อาจารย์บรรยายเนื้อหา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบุคลิกภาพแนวทางการใช้แบบทดสอบบุคลิกภาพ และแบบทดสอบบุคลิกภาพชนิดต่าง ๆ ที่นิยมใช้ 3. อาจารย์อธิบายแนวทางการเลือกใช้แบบทดสอบบุคลิกภาพ กับกลุ่มผู้รับการทดสอบประเภท ต่าง ๆ |
1. เอกสารประกอบการสอน รายวิชา ED 377037 การทดสอบและ การประเมินทางจิตวิทยา 2. Slide ประกอบ การบรรยาย เรื่อง แบบทดสอบบุคลิกภาพ 3. ใบกิจกรรม ที่ 7.1 เรื่อง การเลือกใช้แบบทดสอบ |
อ.ดร.ชนิตา พิมพ์ศรี |
|
|
ครั้งที่ |
เนื้อหา |
กิจกรรมการเรียนการสอน |
สื่อการเรียน การสอน |
ผู้สอน |
||
11-12 (ต่อ) |
7.5 แบบทดสอบ รอส์ชาร์ค (Rorschach Inkblot Test) 7.6 แบบทดสอบ Thematic Apperception Test (TAT) 7.7 แบบทดสอบโดยวิธีการวาดภาพ (Figure Drawing Tests) 7.8 แบบทดสอบ The Minnesota Multiphasic Personality Inventory (MMPI) 7.9 แบบทดสอบบุคลิกภาพ 16 PF (The Sixteen Personality Factor Questionnaire)
|
4. อาจารย์ยกตัวอย่างกรณีศึกษาและสาธิตการเลือกแบบทดสอบบุคลิกภาพให้เหมาะกับกรณีศึกษา 5.นักศึกษาฝึกเลือกแบบทดสอบบุคลิกภาพให้เหมาะกับกรณีศึกษา พร้อมอธิบายเหตุผลประกอบ โดยมีอาจารย์คอยให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา 6. นักศึกษาทำฝึกปฏิบัติเลือกแบบทดสอบบุคลิกภาพให้เหมาะสมตามใบกิจกรรม จากนั้นนำเสนอ 7. อาจารย์สรุปเนื้อหา เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบุคลิกภาพ แนวทางการใช้แบบทดสอบบุคลิกภาพ และแบบทดสอบบุคลิกภาพชนิดต่าง ๆ ที่นิยมใช้
ครั้งที่ 2 1. อาจารย์ทบทวนเนื้อหา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบุคลิกภาพ แนวทางการใช้แบบทดสอบบุคลิกภาพ และแบบทดสอบบุคลิกภาพชนิดต่าง ๆ ที่นิยมใช้ 2. อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอแบบทดสอบบุคลิกภาพอื่น ๆ ตามใบกิจกรรม จากนั้นร่วมกันอภิปรายแนวทางการใช้แบบทดสอบ 3. นักศึกษาสลับกันทดลองเป็นผู้ทำการทดสอบและผู้รับการทดสอบด้วยแบบทดสอบบุคลิกภาพ 16 PF (The Sixteen Personality Factor Questionnaire) แบบออนไลน์ จากนั้นนักศึกษาสะท้อนความรู้สึก 4. นักศึกษาร่วมกันสรุปความคิดรวบยอด เกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำแบบทดสอบ 5. นักศึกษาร่วมกันอภิปรายแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้ทำการทดสอบเพื่อให้การทดสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
|
บุคลิกภาพให้ให้สอดคล้องกับบริบทและความแตกต่างระหว่างบุคคล 4. ใบกิจกรรม ที่ 7.2 เรื่อง การค้นคว้าแบบทดสอบบุคลิกภาพชนิด อื่น ๆ 5. แบบทดสอบบุคลิกภาพ The Sixteen Personality Factor Questionnaire (16 PF) จาก https://webage.ro/en/cattell-online-test-personality-test/# 6. Google Classroom |
|
||
ครั้งที่ |
เนื้อหา |
กิจกรรมการเรียนการสอน |
สื่อการเรียน การสอน |
ผู้สอน |
|
|
6. อาจารย์สรุปเนื้อหา แบบทดสอบบุคลิกภาพชนิดอื่น ๆ ประสบการณ์ในการเป็นผู้ทำการทดสอบและผู้รับการทดสอบ รวมถึงแนวทางในการเตรียม ความพร้อมในการเป็นผู้ทำการทดสอบเพื่อให้การทดสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ |
|
|
13-14 |
8. แบบทดสอบประสาทจิตวิทยา 8.1 จุดประสงค์ของ การทดสอบทางประสาทจิตวิทยา 8.2 แบบทดสอบ Bender Visual Motor Gestalt Test 8.3 แบบทดสอบ Wechsler Memory Scale 8.4 แบบทดสอบ Wisconsin Card Sorting Test 8.5 แบบทดสอบ The Trail Making Test 8.6 แบบทดสอบ Stroop Color and Word Test |
ครั้งที่ 1 1. อาจารย์แจ้งหัวข้อการเรียนรู้ แบบทดสอบประสาทจิตวิทยา พร้อมแจ้งจุดประสงค์ การเรียน และสาระการเรียนรู้ 2. อาจารย์บรรยายเนื้อหา จุดประสงค์ของการทดสอบประสาทจิตวิทยา และรายละเอียดของแบบทดสอบประสาทจิตวิทยาที่นิยมใช้ โดยมีการถามตอบและอภิปรายร่วมกันในประเด็นหัวข้อต่าง ๆ เป็นระยะ 3. อาจารย์อธิบายแนวทางการเลือกใช้แบบทดสอบประสาทจิตวิทยากับกลุ่มผู้รับการทดสอบประเภทต่าง ๆ 4.อาจารย์ยกตัวอย่างกรณีศึกษาและสาธิตการเลือกแบบทดสอบประสาทจิตวิทยาให้เหมาะกับกรณีศึกษา 5.นักศึกษาฝึกเลือกแบบทดสอบประสาทจิตวิทยาให้เหมาะกับกรณีศึกษา พร้อมนำเสนอโดยทั้งอาจารย์และนักศึกษาร่วมกันอภิปรายผลการทำกิจกรรม 6. อาจารย์สรุปเนื้อหา เรื่อง จุดประสงค์ของการทดสอบประสาทจิตวิทยาและรายละเอียดของแบบทดสอบประสาทจิตวิทยาที่นิยมใช้ รวมถึงแนวทางในการเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้ทำการทดสอบเพื่อให้การทดสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ครั้งที่ 2 1. อาจารย์ทบทวนเนื้อหา จุดประสงค์ของการทดสอบประสาทจิตวิทยา และรายละเอียดของแบบทดสอบประสาทจิตวิทยาที่นิยมใช้ |
1. เอกสารประกอบการสอน รายวิชา ED 377037การทดสอบและการประเมินทางจิตวิทยา 2. Slide ประกอบ การบรรยาย เรื่อง แบบทดสอบ ประสาทจิตวิทยา 3. ใบกิจกรรม ที่ 8.1 เรื่อง การเลือก ใช้แบบทดสอบประสาทจิตวิทยาให้ให้สอดคล้องกับบริบทและความแตกต่างระหว่างบุคคล 4. ใบกิจกรรมที่ 8.2 เรื่อง การค้นคว้าแบบทดสอบประสาทจิตวิทยาชนิดอื่น ๆ 5. Google Classroom |
อ.ดร.ชนิตา พิมพ์ศรี |
ครั้งที่ |
เนื้อหา |
กิจกรรมการเรียนการสอน |
สื่อการเรียน การสอน |
ผู้สอน |
|
|
2. อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอแบบทดสอบประสาทจิตวิทยาอื่น ๆ ตามใบกิจกรรม จากนั้นร่วมกันอภิปรายแนวทางการใช้แบบทดสอบ 3. อาจารย์ให้นักศึกษาสลับกันทดลองเป็นผู้ทำการทดสอบและผู้รับการทดสอบด้วยตัวอย่างแบบทดสอบ The Trail Making Test และ แบบทดสอบ Stroop Color and Word Test |
|
|
13-14 (ต่อ) |
|
4. อาจารย์ให้นักศึกษาสะท้อนความรู้สึกและสรุปความคิดรวบยอดเกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำแบบทดสอบด้วยแบบทดสอบประสาทจิตวิทยา 5. นักศึกษาร่วมกันอภิปรายแนวทาง การเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้ทำ การทดสอบเพื่อให้การทดสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 6. อาจารย์สรุปเนื้อหา แบบทดสอบประสาทจิตวิทยาชนิดอื่น ๆ ประสบการณ์ในการเป็นผู้ทำการทดสอบและผู้รับการทดสอบ รวมถึงแนวทางในการเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้ทำการทดสอบเพื่อให้การทดสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ |
|
|
15 |
9. แบบวัดความถนัดและความสนใจในอาชีพ 9.1 จุดมุ่งหมายของ การวัดความถนัด 9.2 ประเภทของแบบวัดความถนัด 9.3 ประโยชน์ของ แบบวัดความถนัด 9.4 จุดมุ่งหมายของ การสำรวจความสนใจ 9.5 แบบสำรวจ ความพอใจในอาชีพ |
1. อาจารย์แจ้งหัวข้อการเรียนรู้ แบบวัด ความถนัดและความสนใจในอาชีพ พร้อมแจ้งจุดประสงค์การเรียน และสาระการเรียนรู้ 2. อาจารย์บรรยายเนื้อหา ความสำคัญของแบบวัดความถนัดและความสนใจในอาชีพ รวมถึงรายละเอียดแบบวัดความถนัดและความสนใจในอาชีพแต่ละประเภท 3. อาจารย์สาธิตการใช้แบบวัดความถนัดและความสนใจในอาชีพ ด้วยแบบทดสอบค้นหาอาชีพที่สร้างจากทฤษฎีการจำแนกอาชีพตาม |
1. เอกสารประกอบ การสอน รายวิชา ED 377037 การทดสอบและ การประเมินทางจิตวิทยา 2. Slide ประกอบ การบรรยาย เรื่อง แบบวัดความถนัดและความสนใจในอาชีพ 3. ใบกิจกรรมที่ 9.1 เรื่อง การเลือก ใช้ |
อ.ดร.ชนิตา พิมพ์ศรี |
ครั้งที่ |
เนื้อหา |
กิจกรรมการเรียนการสอน |
สื่อการเรียน การสอน |
ผู้สอน |
|
9.6 แบบสำรวจทัศนคติด้านอาชีพ 9.7 แบบสำรวจค่านิยมเกี่ยวกับงาน 9.8 ประโยชน์ของแบบสำรวจความสนใจในอาชีพ |
บุคลิกภาพของ จอห์น ฮอลแลนด์ แบบออนไลน์ 4. อาจารย์อธิบายแนวทางการเลือกใช้แบบวัดความถนัดและความสนใจในอาชีพกับกลุ่มผู้รับการทดสอบประเภทต่าง ๆ 5. อาจารย์ยกตัวอย่างกรณีศึกษาและสาธิตการเลือกแบบวัดความถนัดและความสนใจในอาชีพให้เหมาะกับกรณีศึกษา 6. นักศึกษาฝึกเลือกแบบวัดความถนัดและความสนใจในอาชีพให้เหมาะกับกรณีศึกษา พร้อมนำเสนอ โดยทั้งอาจารย์และนักศึกษาร่วมกันอภิปรายผลการทำกิจกรรม 7. อาจารย์สรุปเนื้อหา ความสำคัญของแบบวัดความถนัดและความสนใจในอาชีพ รวมถึงรายละเอียดแบบวัดความถนัดและความสนใจในอาชีพแต่ละประเภท |
แบบวัดความถนัดและความสนใจในอาชีพให้สอดคล้องกับบริบทและ ความแตกต่างระหว่างบุคคล 4. ใบกิจกรรมที่ 9.2 เรื่อง การค้นคว้าแบบวัดความถนัดและความสนใจในอาชีพชนิดอื่น ๆ 5. แบบทดสอบค้นหาอาชีพแบบออนไลน์ 6. Google Classroom |
|
16 |
10. นำเสนอผล การพัฒนาแบบทดสอบทางจิตวิทยา |
1. อาจารย์ทบทวนรายละเอียดและขั้นตอนการดำเนินโครงการตามที่ได้ตกลงกับนักศึกษาไว้ในการจัดการเรียนรู้ ครั้งที่ 2 2. อาจารย์แจ้งจุดประสงค์การเรียน และรู้สาระการเรียนรู้ 3. อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอผลการพัฒนาแบบวัดทางจิตวิทยาเป็นรายบุคคล โดยนำเสนอตัวแปร นิยามของตัวแปร พิมพ์เขียวแบบทดสอบการเขียนข้อคำถาม การวิเคราะห์คุณภาพของแบบวัด และแบบวัดฉบับสมบูรณ์ 4. อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันอภิปรายผลการพัฒนาแบบวัดทางจิตวิทยาเป็นรายบุคคล 5. อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะกับนักศึกษาในประเด็นที่ต้องพัฒนา 6. อาจารย์สรุปเนื้อหาการทดสอบและ การประเมินทางจิตวิทยา โดยเชื่อมให้เห็นความสำคัญทั้งคุณลักษณะของผู้สร้างแบบทดสอบทางจิตวิทยา แนวทางการออกแบบและการสร้างแบบทดสอบ
|
1. เอกสารประกอบ การสอน รายวิชา ED 377037 การทดสอบและ การประเมินทางจิตวิทยา 2. Slide ประกอบ การบรรยาย เรื่อง กระบวนการออกแบบและ การสร้างแบบทดสอบ 3. Slide ประกอบ การบรรยาย เรื่อง การวิเคราะห์คุณภาพแบบทดสอบ 4. Google Classroom 5. Zoom Meeting |
อ.ดร.ชนิตา พิมพ์ศรี |
ครั้งที่ |
เนื้อหา |
กิจกรรมการเรียนการสอน |
สื่อการเรียน การสอน |
ผู้สอน |
|
|
การวิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบ และการนำเอาแบบทดสอบทางจิตวิทยาชนิด ต่าง ๆ ไปใช้
|
|
|
17 |
สอบปลายภาค |
9. ข้อตกลงของรายวิชา
นักศึกษาต้องเข้าเรียนตรงเวลาที่นัดหมายทุกครั้ง หากมีความจำเป็นให้แจ้งผู้สอน โดยต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 80 % ของการเรียน (ขาดได้ไม่เกิน 3 ครั้ง) หากลา 3 ครั้ง เท่ากับ ขาด 1 ครั้ง และหากมาสาย 2 ครั้ง เท่ากับขาด 1 ครั้ง กรณีลาป่วยต้องมีใบลาป่วย พร้อมใบรับรองแพทย์แนบมาด้วย (ถ้ามี) และสามารถส่งใบลาป่วยย้อนหลังได้ หากลากิจต้องส่งใบลาล่วงหน้า
10. คุณธรรมและจริยธรรมในการเรียน
การเรียนการสอนในรายวิชานี้ เน้นการพัฒนาให้นักศึกษาเป็นผู้ที่มีคุณธรรม ดังนั้น จึงขอกำหนด 4 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. มีความรับผิดชอบและตรงต่อเวลา
2. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
3. ไม่คัดลอกงานผู้อื่น และควรอ้างอิงผลงานอย่างถูกต้อง
4. มีความช่วยเหลือเกื้อกูลทางวิชาการระหว่างกัน
นักศึกษาทุกคนต้องมีส่วนรับผิดชอบ กำกับดูแล และให้คำแนะนำเพื่อนไม่ให้ปฏิบัติในสิ่งที่
ไม่เหมาะสมเพื่อร่วมกันพัฒนาตนเอง และเพื่อน ๆ ให้เป็นผู้ที่มีคุณธรรมและจริยธรรมสมกับสถานภาพของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเป็นแบบอย่างที่ดีงามแก่บุคคลทั่วไป
11. สถานที่ทำงานของอาจารย์ผู้สอน
ห้อง 1543 ชั้น 5 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
e-mail: chanita@kku.ac.th
ข้อมูลหลักสูตร
ผู้ฝึกสอน
ชนิตา พิมพ์ศรี